เมืองที่เปรียบเสมือนหอศิลป์ที่มีชีวิตและลมหายใจ
Street Art
Ticy City เชื่อว่าผู้อ่านต้องรู้จักเมือง บรุกลิน ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 เบอโร (ปกครองตนเอง) ในนครนิวยอร์ก ของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะสาย Street Art อย่างแน่นอน เพราะเป็นเมืองที่มีความโดดเด่นเปรียบเสมือนผืนผ้าใบที่เต็มไปด้วยสีสันและเรื่องราวศิลปะกราฟฟิตี้ จนดูคล้ายหอศิลป์ที่มีชีวิตและลมหายใจเลยทีเดียว
ย้อนเวลาไปเมื่อผู้เขียนมีอายุ 12 ปี ได้เคยใช้ชีวิตและเติบโตขึ้นในย่านนี้ จึงทำให้ได้พบเห็น “ศิลปะกราฟฟิตี้” ที่แต่งแต้มอยู่ตามสถานที่ต่างๆ โดยทั่ว ซึ่งในตอนนั้น ผู้เขียนยอมรับเลยว่าไม่มีความรู้เรื่องศิลปะแนวนี้มากนัก แต่ในห้วงความคิดของตัวเองเวลานั้น “บรุกลิน” เป็นเหมือนผืนผ้าใบที่เต็มไปด้วยงานศิลปะ ทุกแห่งที่ผู้เขียนไป ไม่ว่าจะเป็นสถานีรถไฟใต้ดินไปจนถึงอาคารต่างๆ รวมถึงตึกร้างที่ถูกทอดทิ้งก็ล้วนได้รับการรังสรรค์ด้วยศิลปะกราฟฟิตี้แทบทั้งสิ้น
ซึ่งบางแห่งในความเห็นส่วนตัวเป็นภาพที่ดูสวยงามมากๆ ในขณะที่บางแห่งก็ทำให้ผู้เขียนต้องตกตะลึงและใช้เวลาเพ็งมองอยู่นานเพื่อที่จะตีความภาพนั้น เพราะในแต่ละชิ้นงานเป็นเหมือนภาษาลับเพื่อสื่อเรื่องราวถึงต่าง ๆ อย่างมีอัตตลักษณ์ที่ศิลปินต้องการแสดงออกถึงตัวตน และนั้นทำให้บรุกลินไม่ใช่เพียงแค่เมืองปกติทั่วไปแต่เป็นหอศิลป์ที่มีชีวิตและลมหายใจ
บรุกลินจัดเป็น “เมืองเล็กในเมืองใหญ่” ที่โอบกอดศิลปะแนวนี้ได้อย่างมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร นั้่นยิ่งทำให้ ชุมชนที่มีความหลากหลายเต็มไปด้วยชีวิตชีวา และการผสมผสานของวัฒนธรรมได้อย่างลงตัว ส่งผลให้ย่านที่มีเสน่ห์แห่งนี้กลายเป็นสวรรค์ของบรรดาศิลปินกราฟฟิตี้ จนได้ความนิยมและการยอมรับ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของศิลปะกราฟฟิตี้ ตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย
จากเส้นสายสีเปรย์ที่พ่นระบายอยู่บนกำแพงสู่งานศิลปะในชื่อกราฟฟิตี้
สำหรับประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นของศิลปะกราฟฟิตี้นั้นมีจุดเริ่มต้นขึ้นบนถนนของนครนิวยอร์กในปลายยุค 1960 โดยที่ศิลปินหนุ่มสาวทำเครื่องหมายของตนเองในมือง ซึ่งในช่วงนั้นได้ใช้โบกี้รถไฟใต้ดินเป็นผืนผ้าใบ แคนวาสสำหรับงานศิลปะอยู่บ่อยครั้ง จนพัฒนาเป็นรูปแบบการแสดงออกของศิลปะซึ่งเกิดจากจินตนาการสู่พื้นที่สาธารณะบนกำแพงต่างๆ ตามถนนหนทาง โดยเฉพาะในเมืองบรุกลินที่ได้เห็นเป็นภาพชินตากันในทุกวันนี้
ซึ่งสิ่งที่ทำให้ศิลปะกราฟฟิตี้ในบรุกลินมีเอกลักษณ์ก็คือ ความสามารถในการสื่อภาษาลับ ซึ่งงานแต่ละชิ้นบนกำแพงหรือผนังตึกต่างๆ ได้บอกเล่าเรื่องราวของคนในชุมชนที่เป็นดังเสียงของชุมชนเข้าไป ศิลปะที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่แค่เรื่องนี้ของการฉีดพ่นสีสเปรย์ลงบนผนังอิฐเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการกบฏทางความคิดต่อคนส่วนใหญ่อีกด้วย
และนั้นทำให้นักท่องเที่ยวหรือผู้คนที่เดินเล่นบนถนนในบรุกลิน รู้สึกและสัมผัสได้ถึงบรรยากาศของเมืองที่สะท้อนผ่านงานศิลปะแนวนี้ ที่แสดงให้เห็นถึงแก่นแท้ของเมืองได้เป็นอย่างดี แม้ว่าในอดีตการสรรค์สร้างกราฟฟิตี้จะเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และผลงานต่างๆ ไม่ใช่แค่การฝ่าฝืนกฎเกณฑ์เท่านั้น แต่เป็นการขีดเขียน กฎเกณฑ์ใหม่ผ่านการสร้างบทสนทนาที่มีชีวิตชีวาระหว่างศิลปินและเมืองจนเป็นที่ยอมรับในที่สุด
ดังนั้นผลงานศิลปะบรุกลิน จึงไม่ได้จำกัดแค่เพียงในพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์เท่านั้น แต่ทุกคนสามารถเข้าถึงและชื่นชมพร้อมกับตีความได้อย่างอิสระ ได้แทบทุกพื้นที่ในเมืองแห่งนี้กับศิลปะที่เรียกขานกันว่า กราฟฟิตี้
ถึงวันนี้ Ticy City บอกได้เลยว่า กราฟฟิตี้ในย่านบรุกลินแห่งนครนิวยอร์ค ไม่ได้เป็นเพียงการสาดสีบนกำแพงเท่านั้น แต่ยังเป็นปรากฎการณ์ทางวัฒนธรรม การพิสูจน์จิตวิญญาณของเมือง ด้วยการเปลี่ยนเมืองให้กลายเป็นผืนผ้าใบแคนวาส ที่ทุกการแต่งแต้ม ทุกตัวอักษร เป็นอีกหนึ่งบทของเรื่องราวที่ถ่ายทอดเพื่อบ่งบอกเอกลักษณ์ของบรุกลินที่น่าสนใจชวนให้ติดตาม
และเมื่อมีโอกาสไปเยือนนครนิวยอร์คอย่าลืมแวะไปบรุกลินแล้วให้ศิลปะกราฟฟิตี้ นำพาไปสู่เรื่องราวที่ซ่อนตัวตนอยู่เพื่อรอการค้นหา
.
Leave feedback about this