พฤศจิกายน 15, 2024
ticycity.com
Health Trends

งูสวัด

โรคงูสวัด…ภัยเงียบที่ต้องระวังเมื่อเข้าสู่วัย 50+

โรคงูสวัดเกิดจากไวรัสชนิดเดียวกับโรคอีสุกอีใส

โรคงูสวัดคือ โรคที่เกิดจากไวรัส VZV (Varicella Zoster Virus) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส โดยมากกว่า 90% ของผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปและเคยได้รับเชื้อ VZV หรือเคยเป็นโรคอีสุกอีใส จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคงูสวัด เนื่องจากหลังจากเกิดโรคอีสุกอีใสและอาการของโรคหายดีแล้ว เชื้อไวรัส VZV จะหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท เมื่อร่างกายอ่อนแอหรือภูมิคุ้มกันตกลง จะทำให้เชื้อไวรัสดังกล่าวกลับมาก่อให้เกิดเป็นโรคงูสวัด

คนกลุ่มไหนบ้างที่เสี่ยงต่อโรคงูสวัด 

กลุ่มผู้สูงอายุ โดยพบว่าคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเกิดงูสวัดสูงขึ้น เพราะอายุที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมถอยลง

กลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น กลุ่มที่ปลูกถ่ายไขกระดูกหรือปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองอย่างโรคเอสแอลอี ผู้ทีติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

อาการปวดของโรคงูสวัด 

เมื่อเกิดโรคงูสวัด เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายตามเส้นประสาทรับความรู้สึก จึงทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาทร่วมด้วยเสมอ อาจจะเกิดชั่วคราวหรือจะเกิดรุนแรงจนเป็นถาวร โดยจะมีอาการปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง มีผื่นแดงขึ้นตรงบริเวณที่ปวดแล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใส มักเรียงกันเป็นกลุ่มหรือเป็นเเถวยาวตามแนวเส้นประสาท ต่อมาจะแตกออกเป็นแผลและตกสะเก็ด หลังจากผื่นงูสวัดหายแล้วยังคงมีอาการปวดแสบปวดร้อนหรือปวดแบบเหมือนมีเข็มมาทิ่มแทง อาจเป็นตลอดเวลาหรือเป็น ๆ หาย ๆ หรือมีอาการปวดเจ็บแบบแปร๊บ ๆ ตามแนวเส้นประสาทหลังจากที่ผื่นหรือตุ่มน้ำของงูสวัดหายไปแล้ว


ความอันตรายของโรคงูสวัด และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ 

โรคงูสวัด ไม่ได้มีเฉพาะผื่นผิวหนัง แต่ยังส่งผลต่อระบบประสาทและก่อให้เกิดมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ อาการปวดตามแนวเส้นประสาทหลังการติดเชื้อ พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป บางรายอาจปวดได้นานหลายปี โดย พบว่า 5-30% ของผู้ป่วยที่เป็นงูสวัด ยังคงมีอาการปวดเส้นประสาทนานเกิน 3 เดือน แม้ว่าผื่นงูสวัดจะหายแล้ว และผู้สูงอายุจะมีอาการที่รุนแรงและนานกว่าคนอายุน้อย และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เช่น นอนไม่หลับ ขยับตัวลำบาก ยกของหนักไม่ได้ อวัยวะบริเวณนั้นไม่มีแรง และขยับหรือเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนนั้นได้น้อยลง

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่พบได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม ตาอักเสบ แผลที่กระจกตา และภาวะแทรกซ้อนทางหู โรคหลอดเลือดสมอง โรครัมเซย์ฮันท์ซินโดรม เป็นต้น ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด เมื่อเป็นโรคงูสวัดอาจเป็นรุนแรงและแพร่กระจายได้ ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่พบน้อย เช่น สมองและปอดอักเสบ

โรคงูสวัด สามารถป้องกันได้โดย

  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • การออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง
  • การรับการฉีดวัคซีนป้องกัน 

  อ้างอิง

  1. Kilgore PE, et al. J Med Virol. 2003;70(suppl 1):S111-S8
  2. Harpaz R, et al. MMWR Recomm Rep 2008;57:1-30
  3. Kawai K, et al. BMJ Open. 2014 Jun;4(6):e004833
  4. Cohen Jl et al. N Engl J Med 2013:369:255-263

Leave feedback about this

  • Rating

Movement, Voice

‘ลอยกระทง

Destination, Food

ร้านโนบุท

Art & Event, Culture

Awakening

Movement, Voice

‘โครงการห

Culture, God's City

ไหว้เทพอง

PR news, TICY PR

เช็คอินมื

X