พฤศจิกายน 15, 2024
ticycity.com
Living Trends

ย้อนรอยการเดินทาง 20 ปี ของ “มิสเตอร์พี” (Mr. P) 

เด็กทะลึ่งอารมณ์ดีที่แค่เห็นก็อมยิ้มแล้ว 

“มิสเตอร์พี” (Mr. P) 

ตัวอย่าง Sculpture Mr. P ในท่วงท่า อากัปกิริยาใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นที่ไหนมาก่อน
อีกหนึ่งตัวอย่างของ Sculpture Mr. P ในท่วงท่าอากัปกิริยาใหม่ๆ

หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณเเกือบ 20 ปีที่แล้ว Pop-cultureหนึ่งที่ทุกคนคุ้นเคยและรู้จักกันเป็นอย่างดี  นั่นคือ  “มิสเตอร์พี” (Mr. P) เด็กทะลึ่งขี้อายแต่กล้าโชว์อวัยวะเพศ ที่ปรากฎอยู่ในของใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งเคยอวดโฉมหุ่นขนาดยักษ์เกือบ 5 เมตร ยืนอยู่บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าสยาม และเมื่อถึงเทศกาลสำคัญไม่ว่าจะป็นวันเกิด วันปีใหม่ “มิสเตอร์พี” (Mr. P) จะกลายเป็นของขวัญตัวแทนความรู้สึกดีๆ ที่มอบให้กัน แม้แต่ผู้เขียนเองก็มีโคมไฟเด็กทะลึ่งขี้อายแต่กล้าโชว์อวัยวะเพศไว้ในครอบครอง และยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้

และในปีหน้านี้ …“มิสเตอร์พี” (Mr. P) ตัวการ์ตูนคาแรคเตอร์สัญชาติไทยแท้ก็จะมีอายุครบ 20 ปีเต็ม 

สาธิต กาลวันตวานิช หรือ “พี่แก่” นักคิด นักสร้างสรรค์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทฟีโนมีนา จำกัด โปรดักชั่น เฮ้าส์แถวหน้าของคนไทยและยังเป็นผู้ก่อตั้งพร็อพพาแกนดา (Propaganda)

ย้อนเวลาทำความรู้จัก “มิสเตอร์พี” (Mr. P)

หลายคนที่อาจไม่รู้จัก “มิสเตอร์พี” (Mr. P) คงสงสัยว่า คืออะไร คงต้องฟังจาก สาธิต กาลวันตวานิช หรือ “พี่แก่” นักคิด นักสร้างสรรค์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทฟีโนมีนา จำกัด โปรดักชั่น เฮ้าส์แถวหน้าของคนไทยและยังเป็นผู้ก่อตั้งพร็อพพาแกนดา (Propaganda) แบรนด์สินค้าเครื่องใช้ ซึ่งเล่าว่า 

หลังจากที่พร๊อพพาแกนดาได้ทำแบรนด์สินค้าเครื่องใช้ที่ใส่ไอเดียสนุกและสร้างสรรค์ได้ประมาณ 10 ปี นักออกแบบของแบรนด์ ซึ่งในตอนนั้นคือ ตุ๊ด-ชัยยุทธ์ พลายเพ็ชร์ (รางวัลศิลปาธรสาขาการออกแบบ 2557) ก็นึกสนุกอยากออกแบบคาร์แรคเตอร์ที่สะท้อนความเป็นตัวตน และในปี พ.ศ. 2547 Mr. P จึงได้กำเนิดขึ้นจากอารมณ์ขันแบบไทยๆ กลายเป็นคาร์แรคเตอร์เด็กทะลึ่งแต่   ขี้อาย ซึ่งอุทิศอวัยวะของตัวเองให้เป็นฟังก์ชั่นใช้งาน เพื่อสะท้อนการใช้งานแบบ Emotional Approach 

ผลิตภัณฑ์ Mr.P

สินค้าตัวแรกเป็น Mr. P Lamp หรือ One Man Shy สะท้อนความขี้อาย แต่ก็อยากโชว์ ทำหน้าที่เป็นโคมไฟในร่างเด็กผู้ชายเปลือยกายล่อนจ้อนมีเพียงฝาครอบที่ศีรษะ โดยมีสวิตช์เปิด-ปิดอยู่ที่อวัยวะเพศซึ่งใช้วัสดุเป็นยางให้เกิดความนุ่มเวลาสัมผัส หลังจากเปิดตัวเพียง 1 ปี โคมไฟ Mr. P Lamp ก็กลายเป็นสินค้ายอดฮิต  และถูกส่งออกไปขายไม่ต่ำกว่า 40 ประเทศทั่วโลก จนเกิดเป็นไลน์สินค้าอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแท่นตัดสก็อตช์เทป (Tape Dispenser) หรือแก้วกาแฟ (Mug Lick)  และสินค้าอีกกว่า 50 รายการ ที่ได้มีการเพิ่มลูกเล่นและดีไซน์ แต่ยังคงความน่ารัก ความตลกและความสุข ความทะเล้น ทำให้ Mr. P เข้าไปอยู่ในใจของคนทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และทำให้แบรนด์ไทยอื่นๆ เริ่มสร้างสรรค์ผลงานออกมามากมายด้วยความเชื่อที่ว่าไม่มีถูกไม่มีผิด หากคิดจะนอกกรอบหรือไม่เหมือนใคร และที่สำคัญเชื่อมั่นในสไตล์ของตัวเอง

Mr. P ในท่วงท่าใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นที่ไหนมาก่อน
Mr.P ปรากฏภาพบนจอที่ไทม์สแควร์ นิวยอร์ก

กำเนิดแลนด์มาร์คแห่งสยาม 

ภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี  Mr. P โด่งดังจนทำให้ ร้าน Propaganda สาขาสยามดิสคัฟเวอรี่ กลายเป็นเดสติเนชั่นหมุดหมายที่นักท่องเที่ยวต้องมาเยี่ยมชมและช้อปปิ้ง หนังสือแนะนำแหล่งท่องเที่ยว (Guidebook) เกือบทุกเล่มของทุกประเทศแนะนำว่า Propaganda คือที่ที่นักท่องเที่ยวต้องมาให้ได้!!!! 

จุดเริ่มต้นของ Mr.P

และในปี พ.ศ. 2556  “มิสเตอร์พี แอ็บโซลูทสยาม” (Mr. P Absolute Siam) ก็ได้ถือกำเนิด ขึ้นบริเวณสยามเซ็นเตอร์ โดยได้รับการออกแบบให้เป็นตัวหุ่นสีขาวไฟเบอร์กลาสขนาดประมาณ 5 เมตร ที่กำลังเพลิดเพลินกับการฟังเพลงโปรด สวมหูฟัง ทำท่าเดินอย่างมีความสุข ในขณะที่เส้นทางข้างหน้ามีก้อนอุจจาระสีเหลืองกองอยู่ตรงหน้า สะท้อนถึงประสบการณ์จริงว่าการเดินทางของชีวิตมนุษย์ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป เพราะในบางครั้งก็อาจพบเจออุปสรรค แต่ก็จะเห็นจะว่า Mr. P เดินอย่างสบายใจ พร้อมที่จะเผชิญกับทุกสิ่ง ทั้งความสุข ความทุกข์และอุปสรรค  ทั้งยังเชื่อมั่นว่าจะสามารถก้าวข้ามไปได้ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น   ไอคอนนิคและเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของกรุงเทพฯ  ดึงดูดทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติมาถ่ายรูป และโด่งดังจนได้เคยปรากฏภาพบนจอที่ไทม์สแควร์ นิวยอร์ก มาแล้ว  ในขณะที่บริเวณหน้าร้านพร๊อพพาแกนดา ก็มี Mr. P Sleep นอนอยู่หน้าร้าน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปและใกล้ชิดกับเจ้าเด็กหน้าทะเล้นกันมากขึ้น ซึ่งต่อมาได้รับการติดต่อเพื่อนำไปจัดแสดงไว้ที่ China Design Center ประเทศจีนอีกด้วย

แลนด์มาร์คแห่งสยาม

นอกจากนี้ ในช่วงหนึ่งที่บริเวณด้านหน้าสยามเซ็นเตอร์ ฝั่งพาร์ค พารากอน หลายคนอาจจะได้เห็น Mr. P Water ซึ่งเป็น Mr.P เด็กชายอารมณ์ดีขนาดยักษ์จำนวน 3 ตัว ที่มีความสูงกว่า 4 เมตร 3 เมตร และ 2 เมตรตามลำดับ เป็นหุ่นไฟเบอร์กลาสที่ขึ้นรูปด้วยมือและมีขนาดใหญ่ที่สุด อวดโฉมเด่นตระหง่านในท่าทางคุกเข่า แลบลิ้นอย่างอารมณ์ดี มีน้ำไหลออกมาจากปาก สะท้อนถึงความเชื่อเกี่ยวกับศาสตร์แห่งฮวงจุ้ยที่เชื่อว่าการตั้งจุดน้ำไหลบริเวณหน้าบ้าน จะเสริมสิริมงคลให้บ้านนั้นๆ 

สินค้าคาแรคเตอร์ Mr. P ยังได้ไปปรากฏในระดับโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์ต่างประเทศ รวมถึงเป็นไอเทมประดับบ้านของคริสติน่า อาร์กีเรล่า นักร้องนักแสดงชื่อดัง รวมถึงเคยถูกนำไปติดตั้งเป็นวินโดว์ดิสเพลย์ของร้าน Paul Smith แฟลกชิปสโตร์สาขาแรกในย่าน Covent Garden ใจกลางกรุงลอนดอนอีกด้วย  

Sculpture หุ่น Mr. P ที่ไม่เคยเกิดขึ้นที่ไหนมาก่อน ภายในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของอาคารคิงบริดจ์ ทาวเวอร์ ‘KingBridge Tower’

แล้วตอนนี้ Mr. P อยู่ที่ไหน 

ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ใครที่เป็นแฟนของเจ้าเด็กหน้าทะเล้นซึ่งกำลังเติบโตเป็นหนุ่มขี้เล่นตัวนี้ จะไม่ค่อยได้เห็นการต่อยอดคาแรคเตอร์สนุกๆ ของ Mr. P  ไปสู่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เท่าไหร่นัก  แต่ข่าวดีคือ…อีกไม่แฟนคลับก็จะมีโอกาสได้เห็น Mr. P กลับมาโลดแล่นอีกครั้ง ภายใต้โปรเจกต์ความร่วมมือของ  Mr. P และ A49 ที่จะทำให้ได้อมยิ้มไปกับ Sculpture หุ่น Mr. P ในท่วงท่า อากัปกิริยาใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นที่ไหนมาก่อน ภายในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของอาคารคิงบริดจ์ ทาวเวอร์ ‘KingBridge Tower’ โดยเครือสหพัฒน์ ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อให้คนที่ทำงานในตึกนี้มีความสุขเป็น Happiness Tower ซึ่งพื้นที่ Communal Space ทำให้คนที่เข้ามาใช้รู้สึกว่า “ตึกนี้ใจดีจังเลย”  พร้อมทั้งเติมเต็มความสุขด้วยอารมณ์ขัน ความทะลึ่ง และท่าทางต่างๆ ของ Mr. P ที่แค่ ได้เห็นก็ยิ้มแล้ว  โดยอาคาร ‘KingBridge Tower’ จะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2024 ที่จะมาถึงนี้  และหากนับอายุนับตั้งแต่วันที่ Mr. P ก่อกำเนิดแล้ว จนปี 2024 ที่กำลังจะมาถึงนี้ก็จะเป็นปีที่เขามีอายุครบ 20 ปีพอดี

เตรียมตัวมาอมยิ้มและเฉลิมฉลองอายุ 20 ปีของ Mr. P ไปด้วยกันได้เลย       

#TicyCity #ตีซี้ชิตี้ #MeaningofCity  #เพราะทุกที่คือเมือง #เมือง #Ticytrend #Trend #Ticydesign #Movement #MrP #มิสเตอร์พี #พร็อพพาแกนดา #Propaganda

Leave feedback about this

  • Rating

Movement, Voice

‘ลอยกระทง

Destination, Food

ร้านโนบุท

Art & Event, Culture

Awakening

Movement, Voice

‘โครงการห

Culture, God's City

ไหว้เทพอง

PR news, TICY PR

เช็คอินมื

X