พฤศจิกายน 15, 2024
ticycity.com
Movement Voice

Dilemma of Work-Life Balance: 

วิวาทะว่าด้วย ‘สมดุล’ แห่งปรัชญาการทำงานแบบ ‘Work-Life Balance’

ถ้าหากเอ่ยถามคุณผู้อ่านว่า ‘ชีวิตที่ดี’ จะต้องเป็นอย่างไร คุณคิดว่าคำตอบที่ได้นั้น คืออะไร? 

หลายคน หลากคำตอบ แต่แต่จริงแล้ว ทุกคำตอบ ต่างมีจุดร่วมที่เหมือนกันอย่างหนึ่งนั่นคือ …. 

‘ชีวิตที่ดี คือชีวิตที่ “สมดุล”’ …. 

สมดุลในด้านการงาน สมดุลในด้านการใช้ชีวิต สมดุลในด้านการใช้จ่าย ชีวิตที่พอดีที่จะตอบสนองต่อความต้องการ และต่อยอดขึ้นไป เชื่อว่าน่าจะเป็นปลายทางที่ใครต่อใครโหยหาปรารถนาต้องการเป็นอย่างยิ่ง 

แต่สิ่งที่แสนเรียบง่ายเช่นนี้ กลับได้มาอย่างยากเย็น ในยุคสมัยปัจจุบัน ที่ที่ความต้องการ และการใช้ชีวิตประจำวัน ดูจะไม่ลงร่องลงรอย จนมีคนเริ่มตั้งคำถามต่อสิ่งสมดุลที่ควรมีและพึงเป็น ในปรัชญาการใช้ชีวิตแบบ ‘Work-Life Balance’

กระนั้นแล้ว ปรัชญาการใช้ชีวิตดังกล่าว ก็ถูกทักท้วงขึ้นมา จากกลุ่มคนผู้ให้คุณค่ากับการทำงานอย่างหนัก ให้ความสำคัญกับเวลาที่แปรเปลี่ยนเป็นเนื้องาน ว่า Work-Life Balance ไม่สามารถนำไปสู่ชีวิตที่ ‘ประสบความสำเร็จ’ อย่างยิ่งใหญ่ได้ 

อันที่จริง ข้อถกเถียงและวิวาทะเรื่อง Work-Life Balance นี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะถ้าจะหาคำตอบว่าความเหมาะสมมันอยู่ที่จุดใด เราอาจจะต้องย้อนกลับไปยาวไกลกันถึงช่วงเวลาที่มนุษยชาติเริ่มต้นมีสิ่งที่เรียกว่า ‘ตารางงาน’ กันเลยด้วยซ้ำ …. 

ในยุคสมัยแรกเริ่มที่มนุษยชาติสามารถลงหลักปักฐาน และสามารถทำการ ‘กสิกรรม’ เพาะปลูกพืชผล โดยไม่ต้องย้ายถิ่นฐานเร่ร่อนไปตามมีตามเกิดนั้น ตารางการทำงาน ขึ้นกับฤดูกาล และกิจวัตรในแต่ละวัน เริ่มต้นตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น จวบพระอาทิตย์ตกดิน…. 

วิวัฒน์เรื่อยมาจนถึงยุคที่มนุษยชาติสามารถพาสังคมสู่ยุค ‘อุตสาหกรรม’ ที่ที่พลังแห่งเทคโนโลยีการผลิต ช่วยให้ผลิตภาพไม่ต้องอิงกับฤดูกาลอีกต่อไป หากแต่ขึ้นกับ ‘เวลา’ ที่แรงงานมีให้ ในแต่ละวัน และจำนวนของแรงงาน ที่มีมากน้อย แตกต่างกัน 

ก็ใช้งานกันอย่างยับเยินคุ้มค่ารีดทุกหยาดหยด สิบเอ็ดถึงสิบสองชั่วโมงคือขั้นค่ำ ที่แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม จะต้องอยู่กับสายพาน และอายุแรงงาน ไม่ได้มีจำกัด จะแก่หัวหงอก จนถึงเด็กที่เริ่มรู้ความ สามารถเป็นกำลังการผลิตได้หมด เกิด แก่ เจ็บ และตายในกระบวนการผลิตให้กับนายทุนได้ร่ำรวยอย่างไร้ขีดจำกัด 

และคนเริ่มตั้งคำถามกับความเหมาะสมเรื่องเวลาที่ควรใช้ในการทำงาน เวลาที่เหมาะสมที่แรงงานพึงจะได้รับ ในแง่ของการทำงาน และการพักผ่อน ไปจนถึงค่าแรงที่ไม่ขูดรีดนาทาเร้นจนเกินเหตุ 

สู้รบปรบมือกันอย่างสาหัสสากรรจ์ จนได้มาเป็น ‘เข้า 9 โมงเช้า เลิก 5 โมงเย็น’ เวลาเก้าชั่วโมง พอดิบพอดี รวมเวลาพักกลางวัน….. 

และมันคงจะเป็นเช่นนี้ไปอีกนานแสนนาน เข้าเก้าออกห้า พักหนึ่งชั่วโมง ในตึกสำนักงานขนาดใหญ่กลางใจเมือง ถ้าหากไม่มีพัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศ และการแพร่ระบาดของ COVID-19 เข้ามาเขย่ารากฐานที่มีมานานให้พังพิณฑ์ลงไปเสียก่อน….. 

COVID-19 คือปัจจัยใหญ่ ที่ทำให้การรวมตัวในสำนักงาน ต้องถูกกระชากออกเป็นชิ้นๆ การเว้นระยะห่าง ก่อให้เกิดความพยายามที่จะสร้างรูปแบบการทำงานใหม่ การทำงานแบบ ‘Work From Home’ ที่กำหนดเวลายืดหยุ่นได้ โดยเน้นที่เนื้องานเป็นสำคัญ ถูกให้คุณค่ามากขึ้น แม้หลังวิกฤติการแพร่ระบาดผ่านพ้น ผู้คนก็เริ่มเคยชิน และพบว่า การเข้างานแบบ เข้าเก้าออกห้า ก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพไปมากกว่ากันเท่าไร 

เพราะถ้าทำงานหกชั่วโมง หรือสี่วันต่อสัปดาห์ แล้วได้เนื้องานครบถ้วน ทำไมจะเป็นเช่นนั้นไม่ได้? ทำไมจะไม่เอาเทคโนโลยีมาช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น แล้วเอาเวลาที่เหลือไปสร้างโภคผลให้แก่ชีวิตคนทำงาน ทำให้ชีวิตมีคุณค่า และมีความสุขมากขึ้น? 

ที่กล่าวไปทั้งหมด ก็เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า มาตรฐานและนิยามของคำว่า ‘สมดุลทางชีวิตและการงาน’ มันสามารถเลื่อนไหลและไม่เคยอยู่นิ่งตายตัว มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกับการพัฒนาของมนุษยชาติ เวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน ในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับอดีต จะพบว่า สามารถมีผลิตผลที่มากกว่ายุคเกษตรกรรมเบื้องต้นได้นับร้อย นับพัน นับหมื่นเท่า 

บางที Work-Life Balance ที่แท้จริง ก็คงจะขึ้นกับนิยามของแต่ละคนด้วยเช่นกัน….. 

คนที่เป็นเจ้าของกิจการ เป็น CEO เป็น Enterpreneur หรือผู้ก่อตั้ง Startup ยักษ์ใหญ่ ก็คงให้คุณค่าและความสำคัญต่อหน่วยเวลา เพราะทุกนาทีที่ผ่านไป มันคือ ‘ผลกำไร’ ที่ไม่อาจเสียไปได้ 

สำหรับคนทำงานเกษตรกรรม การทำงานช่วงเช้า พักกลางวัน และต่อช่วงเย็น เลิกจากงานในไร่ในสวน กลับบ้านอยู่กับครอบครัว ก็คงไม่ผิด เพราะมันมีข้อจำกัดของระยะเวลาที่ผลิตผลจะออกดอกออกผลตามฤดูกาล 

และคนทำงานออฟฟิศ ที่รับเงินปลายเดือน ก็คงรู้สึกว่า การใช้เวลาเข้าเก้าออกห้า หลายครั้ง มันออกจะตายตัว เสียเวลา ทั้งที่สามารถยืดหยุ่นได้มากกว่า และสร้างเนื้องานได้มากกว่า ในเวลาที่น้อยกว่า 

และบางที มันคงไม่มีใครผิดใครถูก ว่า Work-Life Balance นั้น ‘จำเป็นหรือไม่’ 

เราจึงควรถกเถียงเรื่องนี้ เพื่อหา ‘สมดุล’ ที่ใช่ เพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันได้ อย่างเพียงพอ พอดีพอเหมาะ และ ‘สมดุล’ ในทุกย่างก้าวของชีวิตจะดีกว่า

Image: Pixabay

.

Leave feedback about this

  • Rating

Movement, Voice

‘ลอยกระทง

Destination, Food

ร้านโนบุท

Art & Event, Culture

Awakening

Movement, Voice

‘โครงการห

Culture, God's City

ไหว้เทพอง

PR news, TICY PR

เช็คอินมื

X