โดย”ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค”
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ หรือ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ซึ่งนับเป็นปีมหามงคล ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ต่างร่วมแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
โดยในส่วนของภาครัฐได้กำหนดจัดงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 (The Celebration on the Auspicious of His Majesty the King’s 6th Cycle Birthday Anniversary 28th July 2024) อย่างเป็นไปตามโบราณราชประเพณีให้สมพระเกียรติ ประกอบด้วย
วันเสาร์ที่ 27 – วันจันทร์ที่ 29 ก.ค.2567
- เปิดให้ลงพระนามและลงนามถวายพระพร ณ ศาลาสหทัยสมาคม และอาคารหน่วยราชการในพระองค์ สำนักพระราชวัง
- เปิดปราสาทพระเทพบิดรให้ประชาชนเข้าไปถวายบังคมสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช
วันเสาร์ที่ 27 ก.ค.2567
- ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง
วันอาทิตย์ที่ 28 ก.ค.2567
- เสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง ทรงรับการถวายพระพรชัยมงคล(เชิญน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ไปยังพระบรมมหาราชวัง โดยกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้กรุงเทพมหานครและทุกจังหวัดทั่วประเทศประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพเลื่อมใส หรือจากแหล่งน้ำสำคัญของจังหวัด หรือแหล่งน้ำที่เคยใช้ทำน้ำศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 108 แห่ง)
- ทรงตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนและญวน และทรงรับการถวายพระพร พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์สวด นวัคคหายุสมธัมม์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ทรงตั้งสมณศักดิ์พระสงฆ์ และพระราชทานสัญญาบัตรฐานันดรศักดิ์ พราหมณ์ประจำพระราชสำนัก ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง
วันจันทร์ที่ 29 ก.ค.2567
- พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง
วันอังคารที่ 30 ก.ค.2567
- คณะทูตานุทูตและกงสุลต่างประเทศ เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ณ ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
และในวันที่ 27ตุลาคม 2567 ก็จะมีพระราชพิธีสำคัญของประเทศไทยนั้นคือ งานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดย“ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค”เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในระหว่างช่วงเวลา 15.00 -18.00 น.
คำว่า“พยุหยาตรา” (พะ-ยุ-หะ-ยาด-ตรา) หมายถึง กระบวนทัพ มีทั้งกระบวนทางบก เรียกว่า“สถลมารค” และ กระบวนทางน้ำ เรียกว่า“ชลมารค”
ซึ่งในอดีตนอกจากขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจะเกี่ยวเนื่องกับเรื่องศึกสงครามแล้ว ในอดีต ยังได้จัดในคราวที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปในการต่าง ๆ ทั้งส่วนพระองค์ งานพระราชพิธี ตลอดจนโอกาสสำคัญต่างๆ เช่น พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน การอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญจากหัวเมืองเข้าประดิษฐานในเมืองหลวง ตลอดจนการต้อนรับราชทูตจากต่างประเทศ
ทั้งนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจำนวน 15 ครั้ง และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจัดขึ้นในปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นปีจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งจัดให้มีขบวนเรือพระราชพิธีอัญเชิญพระพุทธรูป พระไตรปิฏก และพระสงฆ์ ไปตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่า ขบวนพุทธพยุหยาตรา การจัดรูปขบวนเรือคล้ายรูปขบวนพยุหยาตราน้อย แต่ไม่ครบเนื่องจากเรือพระราชพิธีชำรุดเสียหายไปบ้าง
แต่ครั้งใหญ่ซึ่งเป็นที่จดจำ คือการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค (ใหญ่) เฉลิมฉลองในพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2539 โดยเป็นการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม
สำหรับในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มีพระราชพิธีครั้งสำคัญการ คือ การเสด็จเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2562
ในส่วนของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารในวันที่ 27 ตุลาคม 2567ที่จะถึงนี้ ทางกองทัพเรือใช้เรือพระราชพิธีจำนวนทั้งสิ้น 52 ลำ จัดขบวนเป็น 5 ริ้ว ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร ใช้กำลังพลประจำเรือรวม 2,200 นาย ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างทุ่มเทแรงกายและแรงใจเพื่อให้ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค สมพระเกียรติ โดยเตรียมความพร้อมการอนุรักษ์ซ่อมแซมเรือพระราชพิธีและอาภรณ์ภัณฑ์เครื่องประกอบ 52 ลำ รวมถึงการซักซ้อมฝีพายเรือในพระราชพิธี
เรือพระราชพิธีเข้าร่วม 14ลำ ประกอบด้วย
- เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
- เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
- เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
- เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
- เรือเอกชัยเหินหาว
- เรือครุฑเตร็จไตรจักร
- เรือกระบี่ปราบเมืองมาร
- เรืออสุรวายุภักษ์
- เรือเอกชัยหลาวทอง
- เรือกระบี่ราญรอนราพณ์
- เรือครุฑเหินเห็จ
- เรือพาลีรั้งทวีป
- เรือสุครีพครองเมือง
- เรืออสุรปักษี
ทางกองทัพเรือกำหนดซ้อมย่อยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค โดยขบวนเรือ 52 ลำ ในแม่น้ำเจ้าพระยาเจำนวน 10 ครั้ง เริ่มจากท่าวาสุกรี (ท่าเรือวัดราชาธิวาส) จนถึง วัดอรุณราชวรารามมหาวิหาร ระหว่างเวลา 15.00 – 18.00 น. ดังนี้
ครั้งที่ 1 : วันที่ 1 สิงหาคม 2567
ครั้งที่ 2 : วันที่ 8 สิงหาคม 2567
ครั้งที่ 3 : วันที่ 15 สิงหาคม 2567
ครั้งที่ 4 : วันที่ 22 สิงหาคม 2567
ครั้งที่ 5 : วันที่ 3 กันยายน 2567
ครั้งที่ 6 : วันที่ 12 กันยายน 2567
ครั้งที่ 7 : วันที่ 19 กันยายน 2567
ครั้งที่ 8 : วันที่ 26 กันยายน 2567
ครั้งที่ 9 : วันที่ 1 ตุลาคม 2567
ครั้งที่ 10 : วันที่ 10 ตุลาคม 2567
จากนั้นจะมีการซ้อมใหญ่จำนวน 2 ครั้ง
ซ่อมใหญ่ครั้งที่ 1 วันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2567 ระหว่างเวลา 14.00- 18.00 น.
ซ่อมใหญ่ครั้งที่ 2 วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567ระหว่างเวลา 14.00- 18.00 น
และซ้อมเก็บความเรียบร้อยในวันที่ 24 ตุลาคม โดยประชาชนที่สนใจรับชมการฝึกซ้อมฝีพายและความงดงามของขบวนเรือพระราชพิธีที่นับว่าเป็นหนึ่งเดียวในโลก สามารถรับชมได้ตลอดสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 8 จนถึงวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
และในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 เรือพระราชพิธีจะเข้าร่วมในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ระหว่างเวลา 15.00 -18.00 น.
ภาพและข้อมูล : http://www.phralan.in.th
กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
#TicyCity #ตีซี้ซิตี้ #เมือง #City #Movement #พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา6รอบ #รัชกาลที่10
#ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค #ถวายผ้าพระกฐิน #สุพรรณหงษ์ #กองทัพเรือ #ฝึกซ่อม #เจ้าพระยา
Leave feedback about this