พฤศจิกายน 15, 2024
ticycity.com
Health Trends

พาร์กินสัน ภัยคุกคามผู้สูงวัย     

ดีขึ้นได้กำลังใจต้องมี วินัยต้องเป๊ะ

ความเสื่อมของระบบประสาท

เพราะวันที่ 11 เมษายนของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวันพาร์กินสันโลก หรือ World Parkinson’s Disease Day โดยมีหมุดหมายเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงโรคพาร์กินสัน ซึ่ีงเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบว่ามีผู้ป่วยเป็นอันดับสองรองจากโรคอัลไซเมอร์ 

Ticy City เลยถือโอกาสพามาทำความรู้จักกับโรคพาร์กินสันกันสักนิด  แม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถทำให้ดีขึ้นได้ ซึ่งนั้นกำลังใจต้องมี พร้อมกับวินัยในการรักษาต้องเป๊ะ 

พาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบได้บ่อยรองจากอัลไซเมอร์ โดยมีการเสื่อมของเซลล์ในก้านสมอง ซึ่งส่งผลต่อการหลั่งสารสื่อประสาท โดปามีน ลดลง ทำให้เกิดอาการผิดปกติของร่างกายหลายด้านด้วยกัน ทั้งอาการที่เกี่ยวกับความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหว เช่น อาการสั่น ซึ่งพบได้บ่อย และอาการผิดปกติอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว

Parkinson’s Disease Symptoms. Illustration about health problem of elderly people.

10 อาการที่พบได้บ่อยของผู้ป่วยพาร์กินสัน 

อาการสั่นที่มือหรือขา ซึ่งเกิดขึ้นขณะอยู่เฉยๆ และอาการจะลดน้อยลงเมื่อมีการใช้งาน

การเคลื่อนไหวช้าและเคลื่อนไหวลำบาก มีอาการแข็งเกร็งของร่างกาย มีจังหวะในการของการเคลื่อนไหวแคบลง เช่น เดินก้าวสั้นๆ

มีความผิดปกติด้านโครงสร้าง อาทิ หลังค่อม ตัวงอโค้งไปด้านหน้า

มีปัญหาด้านการพูด โดยจะพูดช้า พูดเสียงค่อย พูดลำบาก กลืนลำบาก สำลักง่าย

เขียนหนังสือช้า  เขียนตัวเล็กลง 

การแสดงออกทางสีหน้าน้อย เช่น ไม่ยิ้ม ไม่กะพริบตา 

การดมกลิ่นและการรับรสเสีย

มีอาการมึนงง หน้ามืด เหมือนจะเป็นลม โดยเฉพาะเวลาเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากนั่งเป็นยืน 

อาการท้องผูก 

นอนไม่หลับ 

นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่พบได้ เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า เห็นภาพหลอน ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะค่อยๆ ปรากฏขึ้นมา โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัวและหาสาเหตุไม่ได้  ซึ่งกว่าจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสัน ก็อาจทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคนี้มาแล้วกว่า 5-10 ปี

Black substance of the midbrain and its dopaminergic neurons, 3D illustration. Black substance regulates movement and reward, its degeneration is a key step in development of Parkinson’s disease

เมื่อเป็นโรคพาร์กินสันกัน แล้ว จะรักษาอย่างไร

ปัจจุบันนี้แม้ว่าการรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดนั้นยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ชี้ชัดว่าสามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ ดังนั้นการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ ของโรคจะช่วยชะลออาการของโรคและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น

สำหรับการรักษาสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือ “ฟื้นฟูกายภาพบำบัด” ซึ่งเป็นการรักษาที่สำคัญทั้งในด้านการรักษาที่ครอบคลุมในทุกด้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น ปัญหาการเคลื่อนไหว การกลืน การพูด การเขียน เป็นต้น

Elderly man with Parkinsons disease holds spoon in both hands.

ในบทความนี้จะขอพาไปทำความรู้จักกับการฟื้นฟูด้วยการกายภาพบำบัดที่มีการนำมาใช้กับผู้ป่วยพาร์กินสันทั้งในด้านโครงสร้าง การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ และการพูดที่ผิดปกติ ซึ่งมีชื่อว่า LSVT BIG และ LSVT LOUDLSVT BIG และ LSVT LOUD คืออะไรLSVT  ย่อมาจากคำว่า Lee Silverman Voice Treatment  แปลว่า การรักษาด้านการส่งเสียง หรือการพูดนั้นเอง ซึ่งเป็นของ Lee Silverman โดยการรักษานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย เพราะ มีการค้นพบและนำมาใช้มาเกือบ 40 ปีแล้ว โดยคุณหมอ Lorraine Ramig เป็นผู้ค้นพบเทคนิคใหม่นี้ในการแก้ไขปัญหาด้านการพูดของคนไข้พาร์กินสัน 


สำหรับชื่อ Lee Silverman  นั้นมาจากชื่อคนไข้คนแรกของคุณหมอ  พร้อมทั้งได้ตั้งชื่อวิธีการรักษานี้ว่า LSVT LOUD  เพื่อช่วยผู้ป่วยพาร์กินสันในเรื่องการพูด และได้มีการพัฒนาของการรักษาเป็น LSVT BIG ที่เป็นการรักษาสำหรับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของผู้ป่วยพาร์กินสัน

โดยทั้ง LSVT LOUD และ LSVT BIG มีหลักการเดียวกันคือ เน้นการพูดให้เสียงดัง (LOUD) และการเคลื่อนไหวให้ใหญ่หรือกว้าง เช่น ก้าวกว้างๆ (BIG)  และ เน้นการฝึกอย่างเข้มข้นสม่ำเสมอต่อเนื่องระยะหนึ่ง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชื่อมต่อของเซลล์สมอง (Neuroplasticity) ของผู้ป่วย

Cropped shot of a senior man with a walking stick being comforted by nurse in the hospice.Care worker helping to elderly patients to walk in geriatric clinic.

LSVT BIG : ฝึกเดินก้าวให้กว้างสุดๆ

สำหรับปัญหาการเคลื่อนไหว การฟื้นฟูกายภาพบำบัดผู้ป่วยพาร์กินสันแบบเดิมๆ จะใช้การยืดคลายกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการแข็งเกร็งและการฝึกเดิน โดยใช้ตัวกำกับที่เป็นปัจจัยภายนอกหรือExternal cue  เช่น ใช้แสง เส้นขีด เสียง เพื่อฝึกการเดิน โดยให้ผู้ป่วยที่มีอาการก้าวเดินลำบากฝึกก้าวตามเสียงที่เป็นจังหวะ แต่ทั้งนี้พบว่าเมื่อขาดตัวช่วย ตัวกำกับดังที่กล่าวมา ผู้ป่วยก็จะกลับมามีอาการเดินลำบากเหมือนเดิมอีก

ดังนั้น LSVT BIG เปรียบเสมือนการปฏิวัติด้านการฟื้นฟูผู้ป่วยพาร์กินสัน โดยมีการฟื้นฟูกายภาพบำบัดด้วยแนวคิดที่แตกต่างไปจากเดิม โดย LSVT BIG ไม่ใช่แค่การทำกายภาพบำบัดที่แค่ออกกำลังแขนและขาเพื่อแก้อาการเกร็งของผู้ป่วยพาร์กินสันเท่านั้น แต่ยังเป็นการรักษาในแบบฉบับเฉพาะของ LSVT BIG ซึ่งเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ คือ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชื่อมต่อของเซลล์สมอง (Neuroplasticity)

คุณกิตติ สนใจจิตร์ นักกายภาพบำบัดคนแรกของไทยที่ได้ใบรับรองการรักษาด้วย LSVT BIG เล่าว่า “เมื่อลองใช้คำภาษาไทยแทนคำว่า BIG เพื่อให้คนไข้พาร์กินสัน ที่จะมีอาการก้าวสั้นๆ ถี่ๆ หรือเคลื่อนไหวร่างกายในวงแคบๆช้าๆ มีการเดินก้าวยาวๆ เป็นปกติขึ้นนั้น คำที่ใช้ได้ผลดีในการฝึกคนไข้คือคำว่า “สุดๆ” เช่น ก้าวให้กว้างสุดๆ กางแขนให้กว้างสุดๆ โดยจะเน้นการเคลื่อนไหว(จังหวะ) ที่ต้องให้ “สุดๆ” ในทุกการเคลื่อนไหว คือ ทําให้ผู้ป่วยพาร์กินสันเกิดการเรียนรู้ที่จะเคลื่อนไหวในแบบใหม่ ที่กว้างขึ้น ใหญ่ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลุก การนั่ง การยืนและการเดิน รวมถึงการทํากิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจําวัน ซึ่งเป็นการทําให้เกิดการเรียนรู้ที่ตรงกันข้ามกับอาการของผู้ป่วยพาร์กินสันที่จะเคลื่อนไหวช้าและก้าวสั้น”

โดยการเคลื่อนไหว “สุดๆ” และ ฝึกทำอย่างเข้มข้นสม่ำเสมอ เป็น keyword ที่จะกระตุ้นการเกิด neuroplasticity.

ทั้งนี้เพราะ LSVT BIG ไม่ได้เน้นฝึกแค่กล้ามเนื้อหรือการเดิน แต่มุ่งเน้นไปที่การปรับโปรแกรมในสมองให้ดีขึ้น ด้วยการฝึก เมื่อสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยดีขึ้นจากการฝึกเข้มข้น การเคลื่อนไหวของผู้ป่วยก็จะดีและอยู่ได้นาน

ซึ่งผลที่ตามมา คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหว การทํากิจกรรมต่างๆ เช่น เดินได้เร็วขึ้น มีการพัฒนาการทรงตัวดีขึ้น ช่วยเพิ่มองศาการหมุนของลําตัว รวมถึงพัฒนาการทํากิจกรรมในชีวิตประจําวัน เช่น การเคลื่อนไหวบนเตียง การแต่งตัว การเข้าสังคมดีขึ้นตามลำดับ

Concept with text Parkinsons Disease appearing behind torn brown paper with human brain drawing.

LSVT LOUD : ฝึกคิดให้ดัง พูดให้ดัง

LSVT LOUD เป็นการฝึกพูดสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน ที่มีความผิดปกติในการพูด ทั้งนี้ความผิดปกติด้านการพูดที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยพาร์กินสันคือพูดเสียงเบา เสียงแหบ พูดไม่ชัด และจะใช้โทนเสียงเดียว ทำให้การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับคนรอบข้างยากลำบากขึ้น  LSVT LOUD เป็นโปรแกรมการฝึกที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยพูดเสียงดังขึ้น และการออกเสียงของผู้ป่วยดีขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้การสื่อสารของผู้ป่วยพาร์กินสันกับคนรอบข้างเป็นไปได้ดีขึ้น

และเช่นเดียวกับ LSVT BIG คุณ ปิยาภรณ์ รัตนะ นักกิจกรรมบำบัดที่ได้ใบรับรองการรักษาด้วย LSVT LOUD  ในการฝึกการพูดสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน กล่าวว่า “เธอใช้ keyword คำไทยที่ใช้ได้ดีในการฝึก LSVT LOUD คือ “คิดให้ดัง พูดให้ดัง” หลังการฝึก LSVT LOUD ผู้ป่วยพาร์กินสันสามารถพูดออกเสียงได้ดังขึ้น พูดชัดเป็นคำ และสามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้ดีขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น”

โปรแกรม LSVT BIG และ LSVT LOUD เป็นการรักษาที่ออกแบบเฉพาะบุคคลและแบบตัวต่อตัว เพื่อทําการฝึกกับ certified therapist ครั้งละ 1 ชั่วโมง ติดต่อกัน 4 วัน ต่อสัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง หรือ 1 เดือนที่ต้องฝึกอย่างเข้มข้นพร้อมทั้งต้องออกกําลังกายที่บ้านทุกวันตามที่กําหนด ความเข้มข้นและสม่ำเสมอในการฝึกและทำการบ้าน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้การฝึก LSVT BIG และ LSVT LOUD ประสบความสำเร็จ

Happy senior woman sitting on grey ball and holding blue ball while
exercising at gym

การฝึกด้วยแบบแผนใหม่ๆ และทำซ้ำๆ อย่างสม่ำเสมอนี้ จะช่วยปรับโปรแกรมสมองของผู้ป่วยพาร์กินสันให้เกิดการเรียนรู้ ลดภาวะการสูญเสียสารสื่อประสาทโดปามีน และช่วยฟื้นฟูการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาท ซึ่งตรงนี้สำคัญที่สุดและถือเป็นการปฎิวัติการฟื้นฟูกายภาพผู้ป่วยพาร์กินสัน

ทั้งนี้สามรถเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคพาร์กินสันและการรักษาด้วยการ LSVT BIG และ LSVT LOUD  ได้ที่ สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก โทร02-717-4441 และ 094-812-7722 หรือ  ทาง facebook Arun Health Garden

ภาพ : https://pixabay.com/

#TicyCity #ตีซี้ชิตี้ #เมือง #City #health #Parkinson #Parkinsonday #LSVTBIG #AHG

Leave feedback about this

  • Rating

Movement, Voice

‘ลอยกระทง

Destination, Food

ร้านโนบุท

Art & Event, Culture

Awakening

Movement, Voice

‘โครงการห

Culture, God's City

ไหว้เทพอง

PR news, TICY PR

เช็คอินมื

X