พฤศจิกายน 16, 2024
ticycity.com
Art & Event Culture

บ้านเสริมคุณ

‘เสริมคุณ คุณาวงศ์’ เปิด ‘บ้านพิพิภัณฑ์คุณาวงศ์’ 

นักสะสมงานศิลป์ เสริมคุณ คุณาวงศ์ เปิด บ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์ รวมงานศิลปะระดับศิลปินแห่งชาติ บรมครูชั้นนำ และศิลปินรุ่นใหม่ ไว้มากที่สุด

อาทิ ผลงานของ อ.ถวัลย์ ดัชนี, จักรพันธุ์ โปษยกฤติ, ปรีชา เถาทอง, ศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี, ชำเรือง วิเชียรเขตต์, ชลูด นิ่มเสมอ, สวัสดิ์ ตันติสุข, ประเทือง เอมเจริญ, มณเฑียร บุญมา, เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, ปัญญา วิจินธนสาร ฯลฯ

หลายท่านเป็นศิลปินแห่งชาติ ผู้สร้างผลงานระดับมาสเตอร์พีซของเมืองไทย รวมถึงศิลปินรุ่นใหม่ ๆ ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม สื่อผสม จากศิลปิน  180 คน รวมผลงานมากกว่า 1,000 ชิ้น 

บ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์ จัดแสดงงานศิลปะใน 2 อาคาร ที่เจ้าของ เสริมคุณกับครอบครัว ใช้เป็นสถานที่ทำงานและอยู่อาศัยด้วย ได้แก่ อาคารคิวบิค 5 ชั้น แบ่งเป็น 7 โซน และ เดอะ เรสซิเดนซ์ อาคารพักอาศัย 3 ชั้น ทุกพื้นที่อัดแน่นด้วยงานศิลปะให้ชื่นชม ยังมี ประติมากรรมในสวน ตกแต่งงานประติมากรรมกลางแจ้งจากศิลปินหลายรุ่น

“บางคนมี 100 สะสม 10 แต่ผมมี 100 สะสม 150” เสริมคุณ คุณาวงศ์ เล่าถึงความชื่นชอบส่วนตัวเมื่อแรกใช้เงินส่วนตัวสะสมงานศิลปะ

ก่อนหน้านี้เขาเปิด ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพฯ (ถนนนวลจันทร์) เมื่อปี พ.ศ.2547 บัดนี้สถานที่ใหม่ลงตัวที่ บ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์ ลาดพร้าว 54 งานประติมากรรมที่เคยจัดแสดงที่โน่นนำมาไว้ที่นี่หมด

“เรียกว่าเป็น Living Museum หรือ บ้านพิพิธภัณฑ์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต และเป็นบ้านที่ใช้อยู่อาศัยด้วย งานจากศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพฯ เราขนมาที่นี่ ให้เป็นจุดหมายปลายทางของคนชอบงานศิลปะ

และมีงานส่วนตัวของผม เช่น งานภาพถ่าย งานแกะไม้ ผมเก็บอุปกรณ์และกล้องไว้เป็นของสะสมส่วนตัวด้วย”

ผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต เล่าว่า กว่าจะเริ่มเก็บงานชิ้นแรกก็ใช้เวลานาน ต้องทำธุรกิจก่อนเพื่อหาเงิน ตอนเริ่มต้นสะสมงานประติมากรรมจากชิ้นเล็ก ๆ แล้วไปชิ้นใหญ่ จนในที่สุดเปิด ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพฯ

แล้วไต่ระดับขึ้นเป็นหุ่นหลวง เครื่องเบญจรงค์ วัตถุโบราณ เฟอร์นิเจอร์ทั้งของใหม่และแอนทีค เก้าอี้แอนทีคก็สะสมไว้มากกว่า 1,000 ชิ้น

เริ่มชมในอาคารคิวบิค ที่ชั้น 1 ห้องครุฑ ตกแต่งประติมากรรมรูปหล่อครุฑ ผลงานของ อ.ศิลป์ พีระศรี แวดล้อมด้วยเสาไม้แกะสลัก 8 เสา 8 ลวดลาย ผลงานของ อ.ถวัลย์ ดัชนี ผนังซ้ายขวาประดับภาพวาดสีน้ำมันขนาดใหญ่เกี่ยวกับครุฑ ผลงานของ พัฒน์ดนู เตมีกุล อีกด้านประดับภาพเขียนของ อ.ถวัลย์ ดัชนี

ห้องพาเลอร์ (The Parlour) คือห้องรับรองแขก โดยรอบประดับงานศิลปะที่หาชมยาก เช่น คอลเลคชั่นยุคแรกของ อ.ปรีชา เถาทอง จากปี 2015 จนถึงปัจจุบัน, งานของศิลปินชั้นครู ได้แก่ ชลูด นิ่มเสมอ, อวบ สาณะเสน, สวัสดิ์ ตันติสุข, ชำเรือง วิเชียรเขตต์, อิทธิ คงคากุล

ขึ้นบันไดเวียนไปชั้น 2 เป็น ห้องทำงาน (The Study Room) ตกแต่งสไตล์วิคทอเรียน เฟอร์นิเจอร์ผสมผสานตะวันตกและตะวันออก ที่ต่างรูปทรงต่างสไตล์ แต่จัดวางอย่างลงตัว และตกแต่งผลงานของ อ.ศิลป์ พีระศรี, เขียน ยิ้มศิริ, วสันต์ สิทธิเขตต์ และผลงานแนวคิวบิสม์ของ สมโภชน์ อุปอินทร์ และงานเทมโพรารี่ 5 ชิ้น จาก อ.มณเฑียร บุญมา

คชาเลานจ์ เป็นห้องพักผ่อน มีเคาน์เตอร์บาร์ มุมดนตรี ใช้เป็นห้องสังสรรค์พักผ่อน ห้องกว้างเพานสูงกรุกระจกใส ติดภาพศิลปะที่ดูแรง สไตล์เซอร์เรียลลิสต์จากหลากหลายศิลปิน รุ่นใหญ่รุ่นเล็ก  รวมถึงประติมากรรมช้างหรือ “คชา” อยู่กลางห้อง

บนชั้นลอยรวบรวมงานของ ช่วง มูลพินิจ กว่า 10 ชิ้น ขนาบซ้ายขวาด้วยประติมากรรมสแตนเลสเหมือนเสายักษ์กลางห้อง ใช้โลหะกว่า 10,000 ชิ้น ผลงานของ ถนอมจิตร์ ชุ่มวงค์

เสริมคุณ สตูดิโอ คือห้องทำงานศิลปะของเสริมคุณ คุณาวงศ์ ปัจจุบันก็ยังทำงานไม้แกะและถ่ายภาพอยู่เสมอ ห้องนี้จึงนำผลงานของเขามาจัดแสดงด้วย ทั้งภาพสเก็ตช์ สมุดโน้ต ภาพลายเส้น งานภาพพิมพ์แกะไม้ งานภาพถ่าย

ขึ้นลิฟต์ไปชั้น 5 ที่ ห้องแกลเลอรี่ มีพื้นที่กว้าง เพดานสูง จัดแสดงงานศิลปะจากศิลปินรุ่นใหม่ ๆ อาทิ ครูปาน – สมนึก คลังนอก, ครูโต – ม.ล.จิราธร จิรประวัติ, พัดยศ พุทธเจริญ, งานประติมากรรมไม้และสื่อผสมของ อินสนธิ์ วงศ์สาม, กมล ทัศนาญชลี, งานศิลปะของ ยุรี เกนสาคู, พิณรี สันพิทักษ์, ก้องกาน, มด CryBaby ฯลฯ

ออกจากอาคารคิวบิกไปที่ เดอะ เรสซิเดนซ์ อาคารพักอาศัย 3 ชั้น แบ่งเป็น 11 โซน ได้แก่

โถงบทสนทนาของยุคสมัย ห้องโถงเพดานสูง จัดวางงานศิลปะและเฟอร์นิเจอร์ต่างยุคสมัย เช่น เก้าอี้จากยุควิคทอเรียนโกธิค, เก้าอี้มาคิช เบอร์แชร์ จากศตวรรษที่ 19, เก้าอี้มอนเดรียน, งานมาสเตอร์พีซของ อ.ปัญญา วิจินธนสาร, อ.ปรีชา เถาทอง ฯลฯ

ถัดมาเป็น ห้องมรดกไทย จัดแสดงงานศิลปะวิจิตรและงานฝีมือแบบไทย ของเก่าเช่น ตู้พระธรรมลายรดน้ำสมัยรัชกาลที่ 4, งานฝีมือช่างทำพัดสมัยรัชกาลที่ 9 โดย หทัย บุนนาค ภาพเขียนและผลงานตาลปัตรอีกหลายชิ้น

ห้องรุ่งอรุณของศิลปะไทย ห้องสีเหลืองสไตล์โคโลเนียล จัดแสดงผลงานศิลปะของศิลปินชั้นบรมครู เพื่อเชิดชูคุณค่าและเก็บไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา

ห้องจักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งรัตนโกสินทร์ รวบรวมผลงานทุกประเภท ตั้งแต่ผลงานภาพเหมือน วิสุตา หัศบำเรอ, ภาพเกาะเสม็ด งานสีน้ำมันบนผ้าใบ, พระพาย ปี พ.ศ.2548, หุ่นกระบอก ที่ศิลปินสร้างต่อเนื่องตั้งแต่วัยหนุ่ม, ทับทรวงเสือคาบดาบทองคำประดับอัญมณี จากสกุลช่างจักรพันธุ์ จนถึงผลงานวรรณกรรม ที่เขียนลงในลลนา รวมถึงภาพเหมือนบุคคลในครอบครัวคุณาวงศ์ที่ศิลปินได้วาดให้อีกด้วย

ห้องจักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งรัตนโกสินทร์ รวบรวมผลงานทุกประเภท ตั้งแต่ผลงานภาพเหมือน วิสุตา หัศบำเรอ, ภาพเกาะเสม็ด งานสีน้ำมันบนผ้าใบ, พระพาย ปี พ.ศ.2548, หุ่นกระบอก ที่ศิลปินสร้างต่อเนื่องตั้งแต่วัยหนุ่ม, ทับทรวงเสือคาบดาบทองคำประดับอัญมณี จากสกุลช่างจักรพันธุ์ จนถึงผลงานวรรณกรรม ที่เขียนลงในลลนา รวมถึงภาพเหมือนบุคคลในครอบครัวคุณาวงศ์ที่ศิลปินได้วาดให้อีกด้วย

โถงพุทธศิลป์ จัดแสดงผลงานของ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ กับงาน “จิตกับวัตถุ” ผลงานของ ปัญญา วิจินธนสาร, นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ฯลฯ 

เพนท์เฮาส์ศิลปะนามธรรม ชั้น 3 ที่ซ่อนห้องนอน ห้องน้ำ และเป็นส่วนพักอาศัยจริง ตกแต่งศิลปะแนวนามธรรมของ อ.ประเทือง เอมเจริญ, อิทธิพล ตั้งโฉลก, งานประติมากรรมของ ชีวา โกมลมาลัย ฯลฯ

บันไดลับศิลปะ บันไดวนเล็ก ๆ ซ่อนตัวอยู่ในพิพิธภัณฑ์ซึ่งทอดยาวจากชั้น 3 ไปชั้น 1 จัดแสดงงานศิลปะที่มีเรื่องราวสะท้อนสังคมและการเมือง เช่น ผลงานของ ทวี รัชนีกร, วสันต์ สิทธิเขตต์, ธรรมศักดิ์ บุญเชิด ฯลฯ

สวนเขียน ยิ้มศิริ สวนบนระเบียงชั้น 2 แสดงงานประติมากรรมที่มีเรื่องราวของวิถีไทย โดย อ.เขียน ยิ้มศิริ

สวนแห่งชีวิต (The Garden of Life) บริเวณสวนจัดแสดงแนวคิดแห่งวิถีชีวิตและการหลุดพ้น ชมศิลปะท่ามกลางธรรมชาติ จากศิลปินหลายรุ่น เช่น ผลงาน “อนัตตา” โดย ชำเรือง วิเชียรเขตต์, ประติมากรรมสิงโต โดย ช่วง มูลพินิจ, ผลงานเชิงสัญลักษณ์ “ทรายขาว” โดย ธนะ เลาหกัยกุล ฯลฯ

ติดต่อเข้าชม บ้านพิพิธภัณฑ์เสริมคุณ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.30 – 18.00 น. บัตรเข้าชมราคา 450 บาท เข้าชมเป็นรอบ จองรอบเข้าเยี่ยมชมล่วงหน้าที่เว็บไซต์ https://www.zipeventapp.com (ไม่มีการจำหน่ายบัตร) 

Leave feedback about this

  • Rating

Destination, Travel

เปิดตัวสุ

Movement, Voice

ประตูเชื่

Movement, Voice

‘ลอยกระทง

Destination, Food

ร้านโนบุท

Art & Event, Culture

Awakening

Movement, Voice

‘โครงการห

X