พฤศจิกายน 15, 2024
ticycity.com
Movement Voice

กระแสแรงไม่เบา 

ออสเตรเลีย ทำได้หรือไม่ 

เรื่อง : ลับลมคมใน

จากกรณี “คุณหมอพรทิพย์” ถูกเจ้าของร้านอาหารไทยในประเทศไอซ์แลนด์ไล่และปฏิเสธให้บริการ ตามคลิปที่เผยแพร่ในโลกออนไลน์และสังคมกำลังพูดถึงอย่างแพร่หลายในช่วง2-3 วันมานี้  หลายคนคงอยากทราบว่าในแง่ของกฏหมายแล้วเจ้าของร้านอาหารในต่างประเทศทำได้หรือไม่? และผิดหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่?

Sydney skyline in Australia from top view at sunset

ในฐานะที่คลุกคลีในวงการธุรกิจร้านอาหารในประเทศออสเตรเลียมากกว่า 10 ปี เชิญลูกค้าออกจากร้านมาแล้วหลายราย ด้วยเหตุผลความปลอดภัย เช่น ลูกค้าที่ก่อกวนในร้านอาหาร หรือ ปฏิเสธไม่ให้เข้ามาใช้บริการเพราะมีอาการเมามามากจนทางร้านไม่สามารถให้บริการต่อได้ หรือเมามาก่อนหน้าแล้ว จึงไม่สามารถรับเข้าร้านได้นั่นเอง

แต่สำหรับในกรณีดังกล่าวตามคลิปนั้น…เพราะยังไม่เคยผ่านประสบการณ์ในกรณีนี้มาก่อน คือ ปฏิเสธให้บริการด้วยเหตุผลทางการเมือง จึงรู้สึกตื่นตัวกับกระแสสังคมที่กำลังเกิดการวิพากย์วิจารณ์เลยต้องขอเข้าไปเจาะลึกกรณีศึกษานี้ว่า เจ้าของร้านทำได้หรือไม่ และผิดกฏหมายหรือเปล่า

แต่เพราะอยู่ในประเทศออสเตรเลีย จึงขออ้างอิงและเผยแพร่ถึงกฎหมายของประเทศนี้ ซึ่งจากการอ่านกฏหมายออสเตรเลียในเรื่องการทำธุรกิจร้านอาหาร หรือธุรกิจบริการต่างๆ (www.business.gov.au) ระบุไว้ โดยอ้างอิงถึงหลักสิทธิมนุษยชน (www.humanrights.gov.au) ว่า เจ้าของสถานประกอบการร้านอาหาร หรือธุรกิจบริการต่างๆ มีสิทธิ์สามารถ “ปฏิเสธ” ให้บริการ หรือ “ห้าม” ไม่ให้บุคคลเข้าใช้บริการในสถานประกอบการได้ทุกเวลา ยกเว้นเพียง 5 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติ (Anti-Discrimination) ที่ไม่สามารถทำได้และผิดกฏหมาย โดย5 เรื่องที่กล่าวมานั้นคือ 

1. อายุ (Age)  : ธุรกิจไม่สามารถเลือกปฏิบัติการให้บริการแก่ลูกค้า เพราะเหตุผลของเรื่องอายุ

2. รสนิยมทางเพศ (Sexual Orientation)  : ธุรกิจไม่สามารถเลือกปฏิบัติการให้บริการแก่ลูกค้า เพราะเหตุผลของรสนิยมทางเพศของลูกค้า

3. เพศสภาพ (Gender Identity) : ธุรกิจไม่สามารถเลือกปฏิบัติการให้บริการแก่ลูกค้า เพราะเหตุผลของเพศสภาพ รูปร่าง หน้าตา

4. เชื้อชาติ (Race)  : ธุรกิจไม่สามารถเลือกปฏิบัติการให้บริการแก่ลูกค้า เพราะเหตุผลของ เชื้อชาติ

5. การพิการ (Disability)  : ธุรกิจไม่สามารถเลือกปฏิบัติการให้บริการแก่ลูกค้า เพราะเหตุผลของการพิการของลูกค้า

นอกจาก 5 เรื่องที่ได้อธิบายข้างต้น ในเบื้องต้น ธุรกิจมีสิทธิ์สามารถปฏิเสธให้บริการ หรือปฏิเสธการเข้าใช้บริการในสถานประกอบการได้ โดยลูกค้าจะไม่สามารถขัดขืนการตัดสินใจของธุรกิจนั้นๆ ได้ ยกเว้นว่า หากลูกค้ามีข้อสงสัย ก็สามารถร้องเรียนหน่วยงานของรัฐที่ดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อทำการสืบสวนกับธุรกิจนั้นๆ ว่าเข้าข่าย กฏหมายเลือกปฏิบัติ (Anti-Discrimination) หรือไม่ ต่อไป 

กรณีของ “คุณหมอพรทิพย์” หากเกิดในประเทศออสเตรเลีย ในแง่ของกฏหมาย ก็อาจจะยังไม่เข้าข่ายข้อกฏหมายที่กำหนดไว้ ในเรื่องการเลือกปฏิบัติทั้ง 5 ข้อ จึงอาจจะเอาผิดทางกฏหมายได้ไม่ง่าย หรืออาจจะต้องไปสู้กันในชั้นศาลอีกหลายยก 

แต่สำหรับในแง่ของจริยธรรมและมารยาททางสังคม เจ้าของร้านก็อาจพูดจารุนแรงไป จะด้วยความเกลียดชัง อึดอัด หรือคับแค้นใจก็ตาม  การเชิญลูกค้าออกแบบสุภาพ  ไม่ใช้อารมณ์ ไม่มีคำหยาบคาย ข่มขู่ รวมถึงไม่มีการอัดคลิปประจานเช่นเหตุการณ์ดังกล่าวก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่านี้ 

Leave feedback about this

  • Rating

Movement, Voice

‘ลอยกระทง

Destination, Food

ร้านโนบุท

Art & Event, Culture

Awakening

Movement, Voice

‘โครงการห

Culture, God's City

ไหว้เทพอง

PR news, TICY PR

เช็คอินมื

X